วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

ระบบการสอนของ Brown and Others

                   ระบบการสอนที่มีการออกแบบโดยใช้วิธีระบบ (Systematic approach) 
              มีการทดลองใช้อย่างกว้างขวาง มีการกำหนดขั้นตอนการสอน เช่น มีการกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้โดยอาศัยช่องทางต่างๆ  โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และสามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนได้ ซึ่งครูผู้สอนและนักเทคโนโลยีการศึกษาจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการออกแบบพัฒนาระบบการสอน เพื่อที่จะวางแผนร่วมกันอย่างรอบคอบ ในการทำระบบการสอนให้เหมาะสมกับพัฒนาการ จะได้มีการประเมินผลย้อนกลับ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ได้มาซึ่งระบบการสอนที่มีประสิทธิภาพดี
              เมื่อพิจารณาระบบการสอนของBrown and Others จะเห็นว่าการออกแบบระบบการสอนนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียน มีการวิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อที่จะนำมาจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความแตกต่างของผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คือ การสอนที่จัดกิจกิจกรรมที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิตเหมาะสมกับความสามารถและความสนใจของผู้เรียน โดยนักเรียนมีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติจริงทุกขั้นตอนจนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง  มีขั้นตอนดังนี้
         1.วัตถุประสงค์และเนื้อหา (Objectives and Content) เป็นสิ่งแรกที่ผู้สอนต้องกำหนดให้แน่นอนว่าเมื่อเรียนบทเรียนนั้นแล้วผู้เรียนจะบรรลุถึงวัตถุประสงค์อะไรบ้าง ซึ่งจะต้องเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สามารถวัดหรือสังเกตได้
          2.การจัดประสบการณ์การเรียน (Learning Experiences) เป็นการจัดประสบการณ์ในรูปลักษณะกิจกรรมการเรียนต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ ในขั้นนี้ผู้สอนจึงต้องเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีที่สุดสำหรับผู้เรียนแต่ละคน ประสบการณ์ที่นำไปสู่การเรียนรู้แบ่งได้เป็นหลายรูปแบบ เช่น การฝึกให้คิด การอภิปราย การเขียน การอ่าน การฟัง ฯลฯ
            3.การจัดรูปแบบการเรียนการสอน (Teaching - Learning Modes) เป็นการจัดเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีที่สุด การจัดนี้ต้องคำนึงถึงขนาดของผู้เรียน วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมและเนื้อหาบทเรียนด้วย เช่น ถ้าเป็นผู้เรียนกลุ่มใหญ่ ควรใช้วิธีการบรรยายในห้องเรียนใหญ่ ถ้ากลุ่มผู้เรียนมีขนาดกลางหรือกลุ่มเล็กก็ใช้การบรรยายโดยมีการซักถามโต้ตอบกัน และควรมีการใช้สื่อการสอนร่วมด้วย แต่ถ้ามีผู้เรียนเพียงคนเดียวจะใช้การศึกษารายบุคคลในลักษณะของการใช้สื่อประสม เป็นต้น
            4.บุคลากร (Personal) หมายถึง  บุคคลทุกคนที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนั้น "ผู้สอน" จึงหมายถึงครูหรือวิทยากรผู้ถ่ายทอดความรู้ไปยังผู้เรียน ผู้สอนจะต้องมีบทบาทในการใช้สื่อการสอน เป็นผู้จัดสภาพแวดล้อมและจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียน ตลอดแก้ไขปัญหาแก่ผู้เรียน และต้องมีสัมพันธ์กับผู้สอนคนอื่น ๆ เพื่อปรึกษาหรือวางแผนการสอนและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการเรียนการสอน เพื่อการปรับปรุงแก้ไขร่วมกัน  
           5.วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ (Materials and Equipment) ในการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการสอนนั้น ผู้สอนจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้
              1. ความเหมาะสมกับระดับความรู้ และประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
              2. การใช้สื่อเพื่อสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
               3. ความเหมาะสมของชนิดของสื่อกับกิจกรรมการเรียนการสอน
               4. สื่อนั้นสามารถหาได้ในแหล่งวิชาการหรือในท้องถิ่นนั้น
               5. ความสะดวกในการใช้ 
             6.สิ่งอำนวยความสะดวกด้านกายภาพ (Physical Facilities) หมายถึง  การจัดสภาพห้องเรียนในการเรียนรู้ให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสม ตลอดจนการจัดวัสดุอุปกรณ์และสื่อการสอนเพื่อความสะดวกในการใช้ด้วย สิ่งอำนวยความสะดวกและสถานที่เหล่านี้  ได้แก่  ห้องเรียน ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการ ห้องสื่อการศึกษา และห้องนันทนาการ เป็นต้น
           7.การประเมินและการปรับปรุง (Evaluation and Improvement) เป็นขั้นตอนสุดท้ายในระบบการสอน เพื่อเป็นการประเมินว่าหลังจากการสอนแล้วผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้อะไรบ้าง และสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้หรือไม่  เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ เหล่านี้ในการสอนครั้งต่อไป 




หลักในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง             
 1) ให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง (Construct)              
 2) ให้ผู้เรียนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ให้มากที่สุด(Participation)              
 3) ให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกัน ได้แลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ ความคิด และประสบการณ์แก่กันและกันมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (Interaction)              
4) ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ กระบวนการ ควบคู่ไปกับ ผลงาน/ความรู้ที่ได้” (Process/ Product)             
5) ให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน (Application)        
ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนสำคัญที่สุด
              1. มุ่งประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน
              2. ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ
              3. ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาคามรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
              4. ผู้เรียนสามารถนำวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
              5.
 ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนเพื่อพัฒนาผู้เรียน     
ขั้นตอน/กระบวนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ขั้นนำ
สร้าง/กระตุ้นความสนใจหรือเตรียมความพร้อมในการเรียน
                                                               
ขั้นกิจกรรม
จัดกิจกรรมตามหลักการ
1) ผู้เรียนได้สร้างความรู้ด้วยตนเอง 
2) ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ช่วยกันเรียนรู้ 
3) ให้ผู้เรียนได้มีบทบาทและมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้ด้วยตนเอง 
4) ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการควบคู่กับผลงาน/ข้อสรุปความรู้ 
5) ให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้
                                                           
ขั้นวิเคราะห์
อภิปรายผลจากกิจกรรม
1) วิเคราะห์อภิปรายผลงาน/ความรู้ที่สรุปได้จากกิจกรรม 
2) วิเคราะห์ อภิปราย กระบวนการเรียนรู้
                                                          
ขั้นสรุปและประเมินผล
สรุปและประเมินผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์

 ตัวบ่งชี้การจัดกระบวนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง          
1) ด้านผู้เรียน
 1. มีโอกาสกำหนดเป้าหมายการเรียน และวางแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้
 2. มีโอกาสและทักษะการแสวงหาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
 3. มีโอกาสและทักษะการแสวงหาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้โดยการใช้ IT เพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลและการจัดการข้อมูล คิด ทำ และแสดงออกเพื่อแก้ปัญหาหรือสร้างผลงาน
 4. มีปฏิสัมพันธ์ช่วยกันเรียนรู้กับเพื่อ/กลุ่ม
 5. มีโอกาสเลือก/สร้างผลงานจากการเรียนรู้ตามถนัด และความสนใจของตนเอง
 6. มีโอกาสฝึกคิด ฝึกปฏิบัติ แก้ปัญหา และพัฒนาตนเอง
 7. มีส่วนร่วมและได้รับการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงอย่างต่อเนื่อง         
 2) ด้านผู้สอน               
 1. ให้ผู้เรียนมีโอกาสกำหนดเป้าหมายการเรียนและวางแผนการเรียนรู้
 2. กระตุ้นและส่งเสริมการคิด การค้นคว้าหาความรู้และการแสดง       
           การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จะช่วยพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ทั้งด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ รวมถึงด้าน IQ (Intelligence Quotient) และด้าน EQ (Emotional Quotient) ซึ่งนำไปสู่ความเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข  ดังนั้น ผู้สอนทุกคนจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของตนเองจากการเป็นผู้บอกความรู้ให้จบไปในแต่ละครั้งที่เข้าสอนมาเป็นผู้เอื้ออำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ ผู้เรียน ผู้สอนจึงต้องสอนวิธีแสวงหาความรู้มากกว่าสอนตัวความรู้ สอนการคิดมากกว่าสอนให้ท่องจำโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมากกว่าเน้นที่เนื้อหาวิชา      
            เบราน์และคณะ ได้ออกแบบการวางแผนการสอนอย่างเป็นระบบนี้ เพื่อให้สามารถที่จะสรุปทบทวนได้อย่างง่าย และรวดเร็ว และเป็นแนวทางในการสอนและสามารถตรวจสอบได้ ประกอบด้วย องค์ประกอบที่สำคัญ 5 ประการ  ดังต่อไปนี้
        เป้าหมาย (goals)
        ในการเรียนการสอนหรือการฝึกอบรมก็ตามจำเป็นต้องมีจุดประสงค์ จุดมุ่งหมาย ซึ่งก็จะมีจุดประสงค์ทั่วไป เช่น สอนทักษะพื้นฐานให้ผู้เรียน และจุดประสงค์เฉพาะเจาะจง ซึ่งจุดประสงค์ต่างๆ เหล่านี้ จะต้องนำไปเขียนเป็นจุดประสงค์การเรียนรู้ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้านดังนี้
        1.พุทธิพิสัย (Cognitive Domain) เกี่ยวข้องกับ ด้านความรู้ ความจำ ความเข้าใจ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินผล
        2.ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) เกี่ยวข้องกับ เจตคติ และความรู้สึกนึกคิด เช่น ความรู้สึกซาบซึ้งต่อดนตรี หรืองานศิลปะ เป็นต้น
        3.ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) เป็นเรื่องเกี่ยวกับทักษะต่างๆ เช่น ทักษะการเล่นฟุตบอล ทักษะการพิมพ์ หรือทักษะการประดิษฐ์ตัวอักษร เป็นต้น
        สภาพการณ์ (Conditions) 
        สภาพการณ์ หมายถึง ประสบการณ์การเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนสามรถบรรลุจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งยึดหลักการที่ว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดจากกระทำด้วยตนเองทั้งทางร่างกายและจิตใจ ดังนั้นหลักการสำคัญในการออกแบบการวางแผนการสอน คือ การคัดเลือกรูปแบบของประสบการณ์ และกิจกรรมที่เอื้อให้ผู้เรียนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ได้ 
        แหล่งการเรียน (Resources)
        แหล่งการเรียนเป็นส่วนประกอบหลักที่สำคัญของการจัดการสอน ซึ่งรวมไปถึงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพต่างๆ ที่จะเอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ วัสดุ อุปกรณ์รวมถึงบุคลากร ครูผู้สอน ห้องสมุด ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ ผู้ช่วยสอนและอื่นๆ ซึ่งมีผลโดยตรงหรือทางอ้อมที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี
         ผลลัพธ์ (Outcomes)
        ผลลัพธ์ที่ได้นี้จะแสดงถึงสิ่งต่างๆ เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนจะมีการรวบรวมข้อมูลต่างๆ แล้วนำมาเป็นข้อปรับปรุงการเรียนการสอน